Picture

ปิติ มานะ ชูใจ ฮ่าๆๆ

ที่มาของแบบเรียน เริ่มจากกระทรวงศึกษาธิการมี ความต้องการ ต้องการเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ ซึ่งแต่เดิมแบบเรียนภาษาไทยชุดเก่าดูโบราณเกินไป โดยตั้งเงื่อนไขว่า ต้องให้เด็ก ๆ อ่านแล้วรู้สึกสนุก ติดใจ อยากเรียนภาษาไทย เมื่อเขียนเสร็จได้นำมาปรับปรุงและทดลองใช้จนแน่ใจว่า เรื่องราวเนื้อหา ที่เด็กอ่านนับล้านคน เป็นเรื่องที่ดี บริสุทธิ์ ไม่เป็นพิษเป็นภัย ในแต่ละชั้นเรียนจะได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ เพิ่มขึ้นในแต่ละปีการศึกษา โดยในตอนที่เป็นแบบเรียนภาษาไทยยังไม่มีชื่อ แต่อาจารย์ รัชนี ศรีไพรวรรณ ผู้เขียนแบบเรียน เล่าว่าก็มีคนเรียกเล่น ๆ ว่าเรื่อง "ตำนานเด็กดี" แบบเรียนนี้ใช้เวลาเขียนนานกว่า 4 ปี ภายใต้การสอนให้ความรู้ทางภาษาทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ด้วยจำนวนคำ เริ่มตั้งแต่ชั้น ป.1 กำหนดคำไว้ 150 คำ และเพิ่มขึ้นเป็นพันๆ คำ เมื่อเลื่อนชั้นปี จนมาถึงปี 2537 ก็ถูกถอดออกจากแบบเรียนเพราะเนื้อหาในหนังสือเรียนไม่ทันยุคทันสมัย[2]

ในปี 2541 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำเสนอละคอนถาปัดของเรื่องนี้ในชื่อ "มานีและชูใจ"

เดือนมกราคม พ.ศ. 2544 นิตยสารอะเดย์ได้ นำตัวละครเรื่อง มานะ มานี ปิติ ชูใจ มาเสนออย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี และต่อมาปี 2545 ตีพิมพ์ใหม่ในชื่อ "ทางช้างเผือก" โดยสำนักพิมพ์อะ บุ๊ค โดยเพิ่มเนื้อหาเรื่องราวมากขึ้น ทั้งอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ตื่นตาตื่นใจ และยังมีตัวละครใหม่เพิ่มเติม ซึ่งจากยอดพิมพ์ ได้รับการตีซ้ำถึง 8 ครั้งในระยะเวลาสั้น ๆ โดยความแตกต่างระหว่างทางช้างเผือก กับแบบเรียนภาษาไทยชุด เก่านั้น ในหนังสือทางช้างเผือก ชีวิตของเด็ก ๆ กลุ่ม นี้จะดำเนินไปอย่างเป็นเรื่องราวและสมจริงมากขึ้น กว่าในแบบเรียนที่ต้องระมัดระวังด้านภาษาและคำที่ต้องใส่ตามหลักสูตร